จุดเน้น (FOCUS) 

 1. โรงเรียนปลอดภัย

       1.1 ผู้เรียน ครู บุคลากรทางการศึกษาและสถานศึกษา ได้รับการดูแลความปลอดภัยทุกรูปแบบ

จัดสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยเอื้อต่อการมีสุขภาวะที่ดี พร้อมรองรับวิถีชีวิตใหม่ (New Normal)

1.2 พัฒนาระบบ รูปแบบ วิธีการ นวัตกรรมในการดูแลความปลอดภัยให้กับผู้เรียน ครู และบุคลากรทางการศึกษาในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และสถานศึกษา จากภัยพิบัติ และภัยคุกคามทุกรูปแบบ โดยเฉพาะภัยจากโรคอุบัติใหม่ และโรคอุบัติซ้ำ

1.3 ส่งเสริมให้สถานศึกษามีแผน / มาตรการ ป้องกัน และแก้ปัญหาที่เกิดจากภัยพิบัติ และภัยคุกคามทุกรูปแบบ รวมไปถึงภัยคุกคามทางไซเบอร์การแสดงออกที่ไม่เหมาะสม พฤติกรรมกลั่นแกล้ง รังแกผู้อื่น ความรุนแรงในสถานศึกษา การล่วงละเมิดทางเพศ และยาเสพติด พร้อมบูรณาการทักษะชีวิตด้านความปลอดภัยกับแผนการจัดการเรียนการสอน

1.4 ส่งเสริมให้สถานศึกษาจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีสุขภาวะที่ดี เพื่อให้ผู้เรียนสามารถปรับตัวต่อโรคอุบัติใหม่ และโรคอุบัติซ้ำ ดำรงชีวิตในภาวะชีวิตวิถีใหม่ (New Normal) ได้อย่างมั่นคง

1.5 สร้างความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายในการเสริมสร้างความปลอดภัยให้กับสถานศึกษา

1.6 ให้ความรู้ และส่งเสริมการใช้ระบบ MOE Safety Platform ให้ครอบคลุมในทุกสถานศึกษา

2. การจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning)

       2.1 ส่งเสริม สนับสนุน สถานศึกษา ให้นำหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานที่เน้นสมรรถนะไปใช้ตามศักยภาพของสถานศึกษา ให้สามารถออกแบบหลักสูตรที่เหมาะสมกับความต้องการและบริบท

       2.2 พัฒนาหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน และหลักสูตรสถานศึกษาบนฐานของสามมโนทัศน์หลัก คือ Career Education , Competency Building , Creative Education

       2.3 ส่งเสริมให้มีการจัดการศึกษาให้ผู้เรียนมีทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ ๒๑ นำไปสู่การมีอาชีพ  มีงานทำ และส่งเสริมความเป็นเลิศของผู้เรียนให้เต็มตามศักยภาพ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน

       2.4 พัฒนาครูให้สามารถจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) และเป็นผู้สร้างสรรค์นวัตกรรม (Co-creation) ให้กับผู้เรียนในทุกระดับชั้น

  2.5 พัฒนาศักยภาพครูในด้านการวัด และประเมินผลเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน (Assessment For Learning) ด้วยวิธีการที่หลากหลาย เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ เป็นรายบุคคล (Personal Learning) เช่น การอบรมเชิงปฏิบัติการแบบ Intensive Training การอบรมแบบออนไลน์ (Online Training) การอบรมแบบเรียนรู้ด้วยตนเอง (e-learning) เป็นต้น

   2.6 พัฒนาและส่งเสริมนวัตกรรมการศึกษาและการเรียนรู้ เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ ทางการศึกษาของผู้เรียน

     2.7 พัฒนาศึกษานิเทศก์ รูปแบบ วิธีการนิเทศที่ส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เพื่อตอบสนองการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ ๒๑

      2.8 พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา ให้มีศักยภาพในการจัดการเรียนการสอน สู่การเรียนรู้ฐานสมรรถนะมีความรู้ความสามารถในการสร้างสรรค์และใช้เทคโนโลยีดิจิทัล รวมถึงมีความรู้ และทักษะในสังคมยุคชีวิตวิถีใหม่ (New Normal) มีแรงจูงใจในความเป็นครูมืออาชีพ

3. ทักษะอาชีพ   

3.1 ส่งเสริมให้สถานศึกษาจัดทำหลักสูตรที่บูรณาการทักษะอาชีพ และพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้อิงสมรรถนะเพื่อเตรียมความพร้อมผู้เรียนให้มีความรู้และทักษะพื้นฐานในการประกอบอาชีพ สร้างเสริมประสบการณ์อาชีพ ในรูปแบบต่าง ๆ อาทิเช่น รายวิชาพื้นฐาน รายวิชาเพิ่มเติม และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน รวมถึงการปลูกฝังลักษณะนิสัยในการทำงานให้นักเรียน พัฒนาไปสู่การประกอบอาชีพในอนาคต

       3.2 สถานศึกษาจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมให้นักเรียนมีเจตคติที่ดีต่ออาชีพสุจริต มีทักษะในการทำงานรักงาน สู้งาน และทำงานจนสำเร็จ มีความรู้พื้นฐานของการเป็นผู้ประกอบการที่ดี  มีแรงบันดาลใจ ในการค้นพบอาชีพ ที่เหมาะสมกับความถนัด ความสามารถความสนใจ สามารถนำความรู้ที่ได้รับมาเชื่อมโยง กับการวางแผนศึกษาต่อ และอาชีพของตนเองได้

       3.3 ส่งเสริมการมีส่วนร่วมระหว่างผู้ปกครอง  สถานประกอบการ แหล่งเรียนรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อร่วมขับเคลื่อนการจัดการศึกษาที่มุ่งพัฒนาทักษะอาชีพและสร้างเสริมประสบการณ์อาชีพให้แก่ผู้เรียน

  3.4 ครูส่งเสริม สร้างแรงบันดาลใจ ความสามารถ และความถนัดของผู้เรียนสู่อาชีพในอนาคต

4. ทักษะเทคโนโลยี 

4.1 ส่งเสริม สนับสนุนให้สถานศึกษานำเทคโนโลยีดิจิทัลและการจัดการฐานข้อมูล มาใช้เพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน และการเรียนรู้ของผู้เรียนทุกระดับ

       4.2 พัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศของนักเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นรายบุคคล เพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลในการบริหารจัดการศึกษา โดยเฉพาะการดูแลและป้องกันไม่ให้นักเรียนหลุดออกจากระบบการศึกษา และช่วยเหลือเด็กตกหล่น เด็กออกกลางคันให้กลับเข้าสู่ระบบ

      4.3 ส่งเสริม สนับสนุนให้สถานศึกษา พัฒนาทักษะดิจิทัลและภาษาคอมพิวเตอร์ (Coding) สำหรับผู้เรียนทุกช่วงวัย เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงสู่สังคมดิจิทัลในโลกยุคใหม่

4.4 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาส่งเสริมสนับสนุน ครู และบุคลากรทางการศึกษา ดำเนินการพัฒนาสมรรถนะทางด้านเทคโนโลยีดิจิทัลตามกรอบระดับสมรรถนะดิจิทัล (Digital Competency)

       4.5 ผู้เรียนสามารถใช้เทคโนโลยีในการรับรู้  มีวิจารณญานในการใช้สื่อเทคโนโลยีที่เหมาะสม

       4.6 ผู้เรียนมีทักษะพื้นฐานการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมกับช่วงวัย

  4.7 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษาปรับปรุงประสิทธิภาพของเครือข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศให้สามารถใช้งานเครือข่ายสื่อสารข้อมูลเชื่อมโยงหน่วยงานภาครัฐได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อรองรับระบบราชการ 4.0 สามารถตอบสนองความต้องการของประชาชนได้ในทุกเวลา ทุกสถานที่ ทุกอุปกรณ์  และทุกช่องทาง

5. ทักษะชีวิต  

     5.1 ส่งเสริมให้สถานศึกษาจัดทำโครงการ / กิจกรรมเกี่ยวกับระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน เพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิตและการคุ้มครองนักเรียน

     5.2 สถานศึกษาพัฒนาหลักสูตรระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ให้มีการจัดการเรียนการสอนทักษะชีวิตบูรณาการ ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่าง ๆ เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอันจะนำไปสู่การมีทักษะชีวิตตามความคาดหวังของหลักสูตรตามช่วงวัยในแต่ละชั้นปี

      5.3 พัฒนาครูผู้สอนให้มีความรู้ ความเข้าใจในการจัดการเรียนรู้ที่สร้างทักษะชีวิต ด้วยกระบวนการเรียนรู้ ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ กระบวนการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมหรือกระบวนการกลุ่มและเทคนิคเกมการศึกษา ที่ให้ผู้เรียนได้มีการอภิปรายแสดงความรู้สึก นึกคิดอย่างมีประสิทธิภาพ จากการสอนปกติในชั้นเรียน โดยสอนแทรกทักษะชีวิตในกระบวนการเรียนการสอนทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่อิงมาตรฐานและตัวชี้วัด ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ และปรับปรุง ๒๕๖๐

   5.4 ผู้เรียนมีทักษะชีวิตเพื่ออยู่ในสังคมอย่างมีความสุข

6. คุณธรรม จริยธรรม (ร.10, ทักษะในศตวรรษที่ 21)

  6.1 ส่งเสริม สนับสนุนให้สถานศึกษาพัฒนาผู้เรียนให้เป็นพลเมืองดี และมีโอกาสทำหน้าที่เพื่อบ้านเมือง  เช่น จิตอาสา การบำเพ็ญประโยชน์ และสาธารณกุศล ให้ทำด้วยความมีน้ำใจและความเอื้ออาทร

  6.2 ส่งเสริม สนับสนุนให้สถานศึกษาพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ มีทักษะการเรียนรู้ และทักษะที่จำเป็นของโลกในศตวรรษที่ 21 อย่างครบถ้วน เป็นคนเก่ง คนดี มีวินัย มีความรักในสถาบันหลักของชาติ ยึดมั่นการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และน้อมนำพระบรมราโชบายด้านการศึกษาของพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว สู่การปฏิบัติ